อีเมล

admin@landforloan.co.th

ขายฝากคืออะไร

Land for Loan
ขายฝากคืออะไร

ขายฝากคืออะไร

ขายฝากคืออะไร (repurchase, redemption หรือ sale with right of redemption) ขายฝากหมายถึง สัญญาซื้อขายรูปแบบหนึ่ง โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะกลายเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที โดย ผู้ขายฝากจะสามารถไถ่ถอนทรัพย์คืน ได้ (repurchase, buy back หรือ redeem) ตามสัญญาภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์ในระยะเวลาที่กำหนด ทรัพย์สินนั้นจะกลายเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที

เหตุผลทำไมต้องขายฝาก 

      เหตุผลที่ผู้คนทำไมต้องนำทรัพย์สินนั้นมาขายฝากนั้น  อาจมีความจำเป็นทางการเงิน  ใช้ในการหมุนธุรกิจ และต้องกู้หนี้ยืมสินแล้ว ครั้นจะไปจำนองกับธนาคารก็ใช้เวลานาน และวงเงินที่ได้อาจไม่เพียงพอ รวมไปถึงอาจมีเครดิตไม่เพียงพอกู้กับธนาคาร  หรือเจ้าของทรัพย์ไม่ต้องการขายทรัพย์นั้นออกไป ด้วยอาจเพราะเป็นที่มรดก แต่มีเหตุผลที่จำต้องใช้เงินเท่านั้น  ทั้งนี้ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่ต้อการขายฝาก จึงต้องนำทรัพย์สินมาขายฝาก (ค้ำประกันวงเงิน) แทน

ขายฝากคืออะไร

 

ตัวอย่าง

          นาย A นำที่ดิน ไปทำสัญญาขายฝากกับนาย B เป็นระยะเวลา 2 ปี 

ขายฝากคืออะไร main 1

 

          นั่นหมายความว่า ถ้าภายใน 1 ปีหลังทำสัญญา นาย A ต้องการซื้อที่ดินคืน นาย B จะต้องขายคืนให้โดยไม่มีขอยกเว้น 

ขายฝากคืออะไร main 2

 

          แต่หากพ้น 2 ปีไปแล้ว นาย A ไม่ได้มาไถ่ถอนคืน ที่ดินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย B ทันที ซึ่งนาย B จะนำทรัพย์สินไปดำเนินการอะไรก็ได้นั่นเอง

เอกสารที่ใช้ในขั้นตอนขายฝากที่ดิน

  • โฉนดตัวจริง
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ทะเบียนบ้านตัวจริง(ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงบ้านเลขที่ต้องเตรียมใบเปลี่ยนมาด้วย)
  • ใบทะเบียนสมรส(หรือกรณีหย่า เตรียมใบหย่าและแนบท้ายใบหย่าให้ด้วย)
  • ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อ-นาสกุล ให้เตรียมใบเปลี่ยนมาด้วย
  • ใบปลอดหนี้(สำหรับหมู่บ้านจัดหรือคอนโด)
  • เอกสารประกอบสิ่งปลูกสร้างบนโฉนดที่ดิน
  • ใบมรภาพ(กรณีคู่สมรสเสียชีวิต)
  • เอกสารยินยอมคู่สมรสหรือใบหย่า
1 1

ข้อควรรู้ของการขายฝาก

  • สำหรับการขายฝากนั้นตามข้อกฎหมาย สำหรับอสังหาริมทรัพย์ สามารถทำสัญญาได้นานสูงสุด 10 ปี แต่หากเป็นสังหาริมทรัพย์จะมีกำหนด 3 ปี โดยการทำสัญญาจะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดินเท่านั้น
  • สถิติการขายฝากตั้งแต่ปี 2556-2560 การจดทะเบียนขายฝาก โดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 66,521 ราย

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ

  • ข้อตกลงใดที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายนี้ เป็นโมฆะ
  • การขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นเป็นโมฆะ
  • เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% ต่อปี
  • สัญญาขั้นต่ำ 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
  • ผู้ขายขอไถ่ก่อนได้ โดยได้ลดราคาตามส่วนของระยะเวลาไถ่ที่ลดลง แต่ผู้ซื้อเรียกค่าเสียโอกาสได้ไม่เกิน 2%ต่อปี
  • ถ้าผู้ซื้อไม่รับไถ่ ผู้ขายไปวางทรัพย์ได้ที่สำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินที่จดทะเบียน
  • ก่อนครบกำหนด 3-6 เดือน ผู้ซื้อต้องแจ้งเป็นหนังสือลงทะเบียนให้ผู้ขายฝากทราบ
  • กฎหมายใหม่ ไม่มีผลต่อสัญญาที่ทำก่อนหน้านี้ ยกเว้น กรณีเมื่อครบกำหนดสัญญา ผู้ซื้อต้องแจ้งเป็นหนังสือลงทะเบียนตอบรับดังที่กล่าวมา

เทศบาลตำบลท่าช้างยังสรุปเพิ่มเติมว่า

  • ผู้ขายฝากต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
  • การขายฝากต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ณ สำนักงานที่ดิน)
  • กำหนดให้หนังสือสัญญาขายฝากต้องมีรายการอย่างน้อย ดังนี้ ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา รายการและลักษณะแห่งทรัพย์สินที่ขายฝาก ราคาที่ขาฝาก จำนวนสินไถ่ (คำนวณเป็นดอกเบี้ยสูงสุดต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี) และวันที่ขายฝากและกำหนดวันที่ครบกำหนดไถ่
  • สัญญาซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนจะขายคืน มีคำมั่นว่าจะขาย หรือมีสัญญาจะขายคืน หรือเงื่อนไขทำนองเดียวกันให้ถือว่าสัญญาขายฝากตาม พ.ร.บ. นี้
  • มีกำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่า 1 ปี หรือเกิน 10 ปีไม่ได้ (ถ้าต่ำหรือเกินให้ถือว่ามีกำหนด 1 ปี หรือ 10 ปี)
  • ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ได้
  • คดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการขายฝากเป็นคดีผู้บริโภค + ผู้ขายฝากเป็นผู้บริโภค
สรุป 6 ข้อดีของการขายฝาก
  1. การขายฝากที่ดิน จะทำสัญญาระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก ณ สำนักงานที่ดิน จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจว่าจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
  2. อนุมัติเร็วกว่าการขอสินเชื่อกับธนาคาร
  3. ได้วงเงินดีกว่าการจำนอง
  4. การทำสัญญาฝากขายที่ดิน ไม่จำเป็นต้องเช็คประวัติแบล็คลิส เครดิตทางการเงิน หรือ Statement
  5. หากครบกำหนดแล้วผู้ขายฝากยังไม่สามารถไถ่คืนที่ดินได้ ผู้ขายฝากอาจทำสัญญาขยายระยะเวลาไถ่ออกไป ได้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
  6. ผู้ขายฝากยังคงได้ครอบครองที่ดิน และใช้ประโยชน์ต่อไปได้จนกว่าพ้นกำหนดไถ่ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันเป็นประการอื่น

          เมื่อวันที่16เม.ย.ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยพ.ศ.2562

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธุรกรรมการขายฝากน่ากลัวไหม ? และกฎหมายของการขายฝากที่ควรระวัง

ขายฝากคืออะไร แลนด์ฟอร์โลน
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Land for Loan
Best Deal Guarantee
วงเงินสูง  อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ

จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว  ที่ Land for Loan❗️

รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน  ถูกกฎหมาย ปลอดภัย
ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ

✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์

✅ไม่เช็คเครดิตบูโร

✅อนุมัติไว

 

สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.landforloan.co.th

บริการให้คำปรึกษา ฟรี 

LINE ID: @landforloan
โทร :  065 153 9199

ติดต่อเรา Land for Loan

เราช่วยต่อยอดให้ทุกคนสามารถแปลงโฉนดเป็นทุน เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย และตอบโจทย์นักลงทุนรุ่นใหม่ที่สนใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์