จำนอง - ขายฝาก หมายถึงอะไร ข้อควรรู้ก่อนทำธุรกรรม
หลายคนสงสัยว่า จำนอง – ขายฝาก หมายถึงอะไร หากใครอยากรู้ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเพื่อมาไขข้อสงสัยกัน แบบไหนเหมาะกับใคร และต่างกันอย่างไรบ้าง
การจำนอง คืออะไรความหมายของการจำนอง
จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้ รับจำนอง
(ป.พ.พ. มาตรา 702)
ตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโทเป็นจำนวน 2 แสนบาท โดยนายเอกได้นำที่ดินของตนจำนวน 1 แปลงไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 2 แสนบาท ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท โดยนายเอกไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นายโท นายเอกยังคงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ
การจำนอง
เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั้น แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ
1. การจำนองทรัพย์ของตนเองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเองตัวอย่าง นายเอก ได้กู้เงินจากนายโท 2 แสนบาท โดยนายเอกนำที่ดินซึ่งเป็นของตนเองไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนายเอกเอง
2. การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่นตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโท เป็นจำนวนเงิน 2 แสนบาท โดยนายตรีได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท
ทรัพย์สินที่อาจใช้ในการจำนอง
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภทกล่าวคือ
1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดอันติดอยู่กับที่ดินนั้น
2. สังหาริมทรัพย์ ที่จำนองได้ คือ
- เรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระว่างตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
- แพ
- สัตว์พาหนะ
- อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่เป็นต้น
การขายฝาก คืออะไรความหมายของการขายฝาก
ขายฝาก
คือ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขาย อาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ (มาตรา 491 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การขายฝาก = การทำสัญญาซื้อขาย
ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่ผู้ขายฝากสามารถนำเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด ซึ่งหากเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ กฏหมายกำหนดให้สามารถทำสัญญาไถ่ถอนได้สูงสุด 10 ปี นับแต่เวลาซื้อขาย โดยผู้รับซื้อฝากจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ขายฝากสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี และจะได้รับเงินจากการขายฝากคืนเมื่อมีการไถ่ถอนเกิดขึ้น
สินไถ่
คือ ยอดเงินที่ต้องมาชำระคืนแก่ผู้รับซื้อฝากเพื่อไถ่ทรัพย์ ซึ่งยอดสินไถ่จะมีระบุไว้ในสัญญาขายฝาก แล้วผู้รับซื้อฝากจึงยอมให้ไถ่ถอนขายฝากได้นั่นเอง
หากไม่ได้กำหนดสินไถ่กันไว้ ผู้ขายฝากสามารถจะไถ่ได้ตามราคาขายฝาก แต่ถ้าสินไถ่นั้นกำหนดกันไว้กฎหมายจำกัดการกำหนดสินไถ่ว่าจะต้องไม่เกินราคาขายฝากรวมกับประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี เช่น ทรัพย์ที่ขายฝากไว้ราคา100,000 บาท กำหนดเวลาไถ่ 1 ปี สินไถ่ที่จะตกลงกันต้องไม่เกิน 115,000บาท ถ้าตกลงเกินกว่านั้น ผู้ขายฝากสามารถขอไถ่ได้ในราคา 115,000 บาท เป็นต้น
ในกรณีที่ครบกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ยอมรับไถ่ หรือหาตัวผู้รับซื้อฝากไม่พบด้วยเหตุใดๆก็ตาม ผู้ขายฝากมีสิทธิวางทรัพย์ จำนวนเงินเท่ากับสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์ได้ และมีผลให้ทรัพย์ที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอไถ่ได้ทันที
ข้อแตกต่างระหว่างขายฝาก VS จำนอง
ในส่วนการขายฝากและการจำนอง ที่เป็นรูปแบบการทำนิติกรรม ซึ่งหลายคนยังสับสน ว่าแตกต่างกันอย่างไร เหตุนี้จึงต้องแจกแจงข้อแตกต่างให้เห็นอย่างชัดเจน
บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Land for Loan
Best Deal Guarantee
วงเงินสูง อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ
จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว ที่ Land for Loan❗️
รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน ถูกกฎหมาย ปลอดภัย
ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ
✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์
✅ไม่เช็คเครดิตบูโร
✅อนุมัติไว
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.landforloan.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
LINE ID: @landforloan
โทร : 065 153 9199