อีเมล

admin@landforloan.co.th

คำถามที่พบบ่อย

Land for Loan

สำหรับนักลงทุน

เราคือบริษัท Online Platform ทำหน้าที่เชื่อมต่อเพื่อให้เกิดการให้สินเชื่อ ระหว่างนักลงทุนที่แสวงหาผลตอบแทนมากกว่าทางเลือกในการลงทุนแบบเดิม กับกลุ่มบุคคลที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนและมีอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเหมาะสมมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ให้กับนักลงทุน บริษัทเราเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจำนองและขายฝากทรัพย์สินมาอย่างยาวนาน

Land For Loan มีหน้าที่นำเสนอข้อมูล ประสานงานกับบริษัทประเมินทรัพย์สิน ดูแลความถูกต้องและเป็นธรรมของสัญญา ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการดำเนินการ ณ สำนักงานที่ดินเขตนั้นๆ

เรา “ ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์ผู้กู้ ” ทางเราช่วยเบาภาระผู้กู้ด้วยดอกเบี้ยที่ถูก ช่วยวางแผนทางการเงิน และ หากมีเหตุฉุกเฉิน เรายินดีช่วยเหลือแก้ปัญหา เพื่อคงนโยบายไม่ยึดทรัพย์

Land for Loan ต่างอย่างไรกับบริษัทขายฝากหรือmatching อื่นๆ

  • คัดทรัพย์โดยทีมงานคุณแพรรินทร์ “ฉายา เจ้าหญิงวงการอสังหา”
  • กรณีทรัพย์หลุด ทางทีมงานสามารถช่วยให้คำปรึกษาในส่วนของการขายต่อ หรือปรับปรุงทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่า
  • ทำในนามบริษัท ทำให้มีความน่าเชื่อถือ
  • ประสบการณ์ด้านการคัดที่ดินมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1000 แปลง
  • กรณีลูกค้าไม่ต้องการขายฝากแต่ต้องการเพียงจำนอง บริษัทก็สามารถให้คำแนะนำได้

1.หาทรัพย์สินที่ผ่านเกณฑ์มาให้เลือกลงทุนตามทำเล และวงเงินที่ท่านนักลงทุนสนใจ

2.นำเสนอข้อมูลทรัพย์สินและราคาประเมินจากบริษัทประเมินที่มีมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทยซึ่ง กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)

3. สร้างห้องประมูลข้อเสนอ ให้นักลงทุนเห็นทรัพย์สินที่ขึ้นประมูลข้อเสนอพร้อมกัน โดยท่านนักลงทุนสามารถส่งเงื่อนไข และวงเงิน ได้ตามที่ต้องการ เพราะเราเชื่อว่านักลงทุนแต่ละท่านให้ค่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละทรัพย์ต่างกัน

4.จัดเก็บและนำเสนอข้อมูล นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของผู้กู้ยืมแก่นักลงทุน เช่น อายุ อาชีพ แหล่งที่มาของรายได้ทั้งหมด หนี้สินปัจจุบันและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจให้กู้ยืม โดยเป็นการเก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์จากผู้กู้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยบริษัทมิได้ยืนยันข้อเท็จนั้น

5.ให้บริการด้านสัญญา ร่างอนุสัญญา ที่ใช้ควบคู่ไปกับสัญญาฉบับกรมที่ดิน อธิบายตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ร่างและส่งจดหมายทวงถามให้ชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บริการของ Land for Loan มีลักษณะเดียวกันกับนายหน้า ที่มีหน้าที่ชี้ช่องและประสานให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญากัน โดยวิธีการหานักลงทุนและผู้ต้องการกู้ยืมใช้ระบบ Online และในการส่งมอบเงินหรือทำธุรกรรมระหว่างผู้กู้และนักลงทุน Land for Loan จะไม่รับโอน รับฝาก หรือเป็นตัวกลางในการโอนเงินที่กู้ยืมอันอาจมีลักษณะเป็นธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยควบคุม

ซึ่งการทำธุระกรรมต่างๆในการกู้ยืมนักลงทุนจะไม่ต้องชำระหรือโอนเงินที่จะให้กู้ผ่านเราแต่ให้ไปทำสัญญาที่กรมที่ดินและส่งมอบแคชเชียร์เช็ค (Cashier Cheque)ให้ผู้กู้ยืมด้วยตัวเองในวันทำสัญญา

มีประเด็นที่นักลงทุนควรรู้ดังนี้

1.ความแตกต่างในการโอนกรรมสิทธิ์ รับขายฝากคือนักลงทุนจะรับโอนกรรมสิทธิ์ในหลักประกันมาในวันทำสัญญา จนกว่าผู้ขายฝากจะนำเงินค่าสินไถ่ที่ตกลงไว้มาคืน กรรมสิทธิ์ในหลักประกันถึงจะโอนกลับไปที่ผู้กู้ยืม

ส่วนการจำนองนั้นกรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของผู้กู้เงินเพียงแต่ผู้รับจำนองจะได้รับการจดทะเบียนใส่ชื่ออยู่ด้านหลังของโฉนดและบังคับชำระหนี้กับทรัพย์สินนั้นได้หากผู้กู้ไม่ชำระหนี้

2.ความแตกต่างในด้านการบังคับให้ชำระหนี้คืน กรณีขายฝากหากลูกหนี้ไม่มาชำระหนี้คืน ผู้รับขายฝากก็จะได้ทรัพย์นั้นไปหรือที่เรียกว่า ขายฝากหลุด แต่ไม่สามารถฟ้องร้องให้ผู้ขายฝากมาชำระหนี้เงินคืนได้

ส่วนการบังคับให้ชำระหนี้จำนองนั้น สามารถกระทำได้โดย มีหนังสือทวงถามไปยังผู้จำนองให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมศาลและค่าว่าจ้างทนายความ ซึ่งนักลงทุนควรศึกษาเพิ่มเติม หรือสอบถามเจ้าหน้าที่ของเรา

3.ความแตกต่างของวงเงินที่จะให้สินเชื่อ เนื่องจากจำนองมีความเสี่ยงและอาจมีข้อยุ่งยากในการบังคับให้ชำระหนี้ Land for Loan จึงเผื่อส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of safety) แนะนำเปิดข้อเสนอให้สินเชื่อไม่เกิน35% ของราคาประเมิน เผื่อในกรณีที่ลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ย หรือต้องเรียกร้องค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความจากลูกหนี้

ราคาประเมินที่แสดงในห้องประมูลหรือบน Website มาจากการประเมินของบริษัทประเมินเป็นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับการรับรองจาก กลต.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ซึ่งเป็น นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นทางการค้าปกติ และประสงค์จะให้บริการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุน

โดยมีการประเมินโดยอาศัยหลักการดังนี้

1. วิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)


วิธีการประเมิน

คือประเมินจากต้นทุนที่ใช้ไปในการก่อสร้าง การประมาณการต้นทุนในการสร้างอาคารทดแทนตามราคาปัจจุบัน (Present Value) แล้วหักลบด้วยค่าเสื่อมราคา (ถ้ามี) บวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน ก็จะได้มูลค่าของทรัพย์สินนั้นมักใช้ควบคู่ไปกับวิธีการเปรียบเทียบตลาดหรือใช้ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินด้วยวิธีเปรียบเทียบตลาดได้ เช่นในบริเวณข้างเคียงไม่มีทรัพย์สินที่มีลักษณะเดียวกัน ประกาศขายอยู่เลย

เหมาะกับ : อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์เช่นตึกแถว ที่ไม่สามารถหาทรัพย์สินเปรียบเทียบที่เป็นประเภทและสภาพเดียวกันได้ในทำเลนั้นๆ

ตัวอย่าง:ประเมินอพาร์ทเม้นท์ อายุ10 ปีด้วยวิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน ถ้าจะต้องสร้างอาคารใหม่ในปัจจุบันจะต้องใช้เงิน 10 ล้านบาท หักค่าเสื่อม 20% (ปีละ 2% 10 ปี) ทำให้มูลค่าอาคารเหลือ 8 ล้านบาท เมื่อบวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน 10 ล้านบาท ก็เท่ากับว่ามูลค่าของที่ดินพร้อมโรงงานนี้คือ 18 ล้านบาท

2.เปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)

วิธีการประเมิน

หาราคาประเมินจากราคาของทรัพย์สินที่อยู่ในทำเลใกล้เคียงกันและเป็นทรัพย์สินประเภทเดียวกันเช่นบ้านแฝดที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันตึกแถวจำนวนชั้นเท่ากันอยู่ในถนนเส้นเดียวกันโดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีสภาพคล้ายกันวิธีการประเมินด้วยวิธีเปรียบเทียบเป็นวิธีที่นิยมใช้ที่สุดในการหามูลค่าตลาด (Market Value) โดยจะพิจารณาจาก ทำเลที่ตั้ง ผังเมือง กฎหมายที่จำกัดสิทธิที่ดิน ขนาดแปลงที่ดิน ขนาดเนื้อที่ใช้สอยอาคาร คุณภาพอาคาร เป็นต้น จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์เพื่อหามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ออกมา โดยอาศัยเทคนิคต่างๆ เช่น Sale Adjustment-Grid Method และ Weighted Quality Score (WQS) เป็นต้น

เหมาะกับ :การประเมินหามูลค่าอาคารที่อยู่อาศัย เพื่อขอสินเชื่อ

ตัวอย่าง: ประเมินราคาบ้านเดี่ยว 50ตรว. หมู่บ้านA หากมีบ้านเดี่ยว50ตรว.ก็เอาราคานั้นมาใช้อ้างอิงประเมินได้ ถ้าหากไม่มีบ้านขายอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน อาจเทียบเคียงจากหมู่บ้านข้างเคียง โดยบวกลบจากสภาพสิ่งแวดล้อม ส่วนกลางหมู่บ้าน

3.แปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)

วิธีการประเมินมูลค่า

ราคาประเมินจะเท่ากับ การคำนวณกระแสเงินสดจากผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สิน

การประเมินมูลค่าด้วยวิธีผลตอบแทนทางตรง (Direct Capitalization) เหมาะสำหรับทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ยิ่งสร้างรายได้มาก มูลค่าของทรัพย์สินก็ยิ่งสูงขึ้น

เหมาะกับ :อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่นโกดังสินค้า ศูนย์การค้า โรงแรม

การประเมินค่าทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น อะพาร์ตเมนต์ หอพัก หรือศูนย์การค้า อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่ยากต่อการหามูลค่าด้วยวิธีการเปรียบเทียบ

สำหรับผู้กู้ยืม

ขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ โดยราคาซื้อคืนมักรวมดอกเบี้ยเข้าไปแล้ว

ข้อแตกต่าง ระหว่างขายฝาก กับ จำนอง

1.ผลทางกฎหมายเมื่อผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จำนองหากผู้กู้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องคดีต่อศาลให้มีคำสั่งยึดทรัพย์ ขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปคืนเจ้าหนี้ แต่ขายฝากหากผู้กู้ไม่ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินคืนจะหมดไป และกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์โดยไม่ต้องมีการฟ้องร้องคดีต่อศาล

2.การชำระดอกเบี้ย การขายฝากนั้นไม่มีการผ่อนชำระคืนเงินเป็นงวด ๆ แบบเงินกู้ แต่กำหนดชำระคืนงวดเดียวเมื่อครบกำหนดเวลาไถ่

3.ค่าธรรมเนียม จำนองเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ1++จากยอดเงินกู้ ส่วนขายฝากเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2จากราคาประเมิน

ผู้กู้ยืมสามารถคำนวณผ่านเว็ปไซต์กรมที่ดิน คลิกเลย


ขายฝาก

1.ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร

2.ค่าธรรมเนียมการโอน(ขายฝากมีลักษณะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์) 2% ของราคาประเมินกรมธนารักษ์

3.ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (ในกรณีผู้ขายฝากถือครองทรัพย์มาได้ไม่นาน)

4.ค่าคำขอ ค่าพยาน ตามเกณฑ์ของกรมที่ดิน

ประเมินโดยใคร?

Land for Loan ไม่ได้เป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์ของผู้กู้เอง แต่ทางบริษัทจะประสานงานกับบุคคลภายนอกให้เป็นหน้าที่ของบริษัทประเมินที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกลต. เข้ามาทำการประเมินทรัพย์สินของผู้กู้ โดยให้ผู้กู้เป็นผู้ว่าจ้างและเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเองและรายงานประเมินฉบับนั้นๆจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กู้ โดย Land for Loan มีสิทธินำข้อมูลนั้นแสดงต่อนายทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจให้กู้ยืม

ผู้กู้จะได้วงเงินเท่าไรของราคาประเมิน

เนื่องจากดอกเบี้ยของการกู้ยืมที่ผ่านระบบ Land for Loan มีราคาต่ำกว่านายทุนนอกระบบส่วนใหญ่ เราจึงต้องมีมาตรการจำกัดวงเงินกู้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้นักลงทุนควบคู่ไปด้วยดังนี้

การจัดหานายทุนของ Land for Loan เป็นระบบเปิดห้องประมูลให้นายทุนเสนอข้อเสนอวงเงินสินเชื่อและดอกเบี้ย

โดยมีข้อเสนอตั้งต้นดังนี้

กรณีจำนอง เริ่ม 35-40% ของราคาประเมิน แต่ไม่เกิน50%

กรณีขายฝากเริ่ม 45-50% ของราคาประเมิน แต่ไม่เกิน65%

*หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ หรือที่ landforloanthailand@gmail.com

Land for loan และสมาชิกนายทุน พิจารณาจากทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแต่เพียงอย่างเดียวและจะไม่ขอดูประวัติการชำระหนี้และเอกสารแสดงรายได้ใด

หลังจากผู้กู้ได้ส่งข้อมูลทรัพย์และติดต่อนัดบริษัทประเมินเข้าประเมินทรัพย์สินแล้ว จะใช้เวลาประเมินทรัพย์สินไม่เกิน 7 วัน หลังจากได้รายงานประเมินและตรวจสอบเอกสารแล้วทรัพย์ของผู้กู้จะถูกขึ้นประมูลให้ส่งข้อเสนอภายใน7วัน

การขยายกำหนดเวลาไถ่สามารถทำได้

โดยผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับซื้อฝากและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน

ทำสัญญาขยายเวลาไถ่กี่ครั้งก็ได้แต่รวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 10ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝาก

ถ้าข้อตกลงขยายระยะเวลาไถ่ขายฝากไม่นำไปจดทะเบียนจะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้

ระยะเวลาไถ่ขายฝากจะต้องจดทะเบียนไว้ที่โฉนด ณ กรมที่ดิน

กำหนดไว้1ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน10ปี ต้องของไถ่ถอนภายในกำหนดเวลาสัญญาขายฝาก หรือภายในเวลาที่กำหนด

การทำข้อตกลงขยายระยะเวลาไถ่ขายฝากจะต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน