การไถ่ถอน จำนอง ขายฝากต่างกันอย่างไร?
การไถ่ถอนจำนอง คืออะไร?
เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ได้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันในการชำระหนี้ เมื่อทำการชำระหนี้ที่จำนองไว้เสร็จสิ้นแล้ว ต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองเพื่อแก้ไขข้อความให้ปรากฎในเอกสารสิทธิว่าไม่มีการจำนองแล้ว ต้องดำเนินการต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนจำนองด้านหลังโฉนดตรงสารบัญจดทะเบียน ว่ามีการจดทะเบียนเมื่อไร ใครเป็นผู้จำนอง และใครเป็นผู้รับจำนอง
ในการไถ่ถอนจำนอง ผู้จำนองควรแจ้งล่วงหน้า 3-5 วัน เพื่อนัดไถ่ถอนที่กรมที่ดิน
วิธีการไถ่ถอนจำนอง มี 2 แบบ
- ไปยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน
- นำหลักฐานที่ผู้รับจำนองได้ทำเป็นหนังสือหรือสลักหลังสัญญาจำนองฉบับผู้รับจำนองว่าได้มีการไถ่ถอนจากจำนองแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน
ค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนจำนอง
- ค่าคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียม แปลงละ 50 บาท
- (กรณีมอบอำนาจ ค่ามอบอำนาจ 20 บาท ต่อ 1 คน)
เอกสารหลักฐานที่ใช่ในการไถ่ถอนจำนอง
- หลักฐานสัญญาจำนองที่ทำเป็นหนังสือระหว่างผู้จำนอง และ ผู้รับจำนอง หลักฐานว่าได้ทำการชำระสินไถ่แล้วเรียบร้อยและยินยอมให้ไถ่ถอนจำนองได้
- โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโด หนังสือที่แสดงกรรมสิทธิ์
- บัตรประจำตัวประชาชน
การไถ่ถอนขายฝาก คืออะไร?
ผู้ขายฝากได้นำโฉนด มาทำธุรกรรมกับผู้รับซื้อฝาก ได้ทำสัญญาขายฝากและกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอนที่ดิน ควรไถ่ถอนภายในกำหนด คือ ไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี และต้องดำเนินการไถ่ถอนที่กรมที่ดินเท่านั้น โดยขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝากคือผู้รับซื้อฝากต้องทำหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้ขายฝากรู้ล่วงหน้า ก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ถอนไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ต้องบอกรายละเอียดวันครบกำหนด จำนวนเงิน สถานที่ และผู้รับไถ่ถอนคืน พร้อมแนบสัญญาขายฝาก ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมให้ไถ่ถอน ทางผู้ขายฝากสามารถไปที่สำนักงานบังคับคดี ในจังหวัดนั้นๆ เมื่อวางทรัพย์ตามขั้นตอน ถือว่ามีการไถ่ถอนตามกำไหนดแล้ว
ในการไถ่ถอนขายฝาก ผู้ขายฝากควรแจ้งล่วงหน้า 3-5 วันเพื่อนัดไถ่ถอนที่กรมที่ดิน ถ้าผู้รับซื้อฝากไม่ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ กำหนดการไถ่ถอนจะถูกขยายออกไป 6 เดือนโดยอัตโนมัติ
วิธีการไถ่ถอนขายฝากที่ดิน มี 2 แบบ คือ
- ไปยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน
- นำหลักฐานที่ผู้รับซื้อฝากได้ทำเป็นหนังสือหรือสลักหลังสัญญาขายฝากฉบับผู้รับซื้อฝากว่าได้มีการชำระสินไถ่ขายฝากแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน
ค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนจำนอง
สำหรับค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนขายฝาก คิดเป็น 1% ของราคาประเมินของสำนักงานที่ดินหรือราคาขายฝาก ซึ่งน้อยกว่าค่าธรรมเนียมทำสัญญาขายฝากและชำระค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาสูงสุดระหว่างราคาประเมินและราคาขายฝากของราคาประเมินของสำนักงานที่ดินหรือราคาขายฝาก ค่าไถ่ถอนโฉนดละ 50 บาท ตามระเบียบของสำนักงานที่ดินกำหนด
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการไถ่ถอนจำนอง
- คู่สัญญาขายฝาก
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประชาชน
บุคคลที่มีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์สินขายฝาก
- ผู้ขายฝากหรือทายาทของผู้ขายฝาก
- ผู้รับโอนสิทธิการไถ่ทรัพย์สินคืน
- บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้
ดังนั้นการไถ่ถอน จำนอง ขายฝากมีความคล้ายกัน ซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ถูกต้องตามกระบวนของการจำนองและการขายฝาก
บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Land for Loan Best Deal Guarantee วงเงินสูง อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ
จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว ที่ Land for Loan❗️
รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน ถูกกฎหมาย ปลอดภัย ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ
✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์
✅ไม่เช็คเครดิตบูโร
✅อนุมัติไว
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.landforloan.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
LINE ID: @landforloan โทร : 065 153 9199