7 ขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝาก (แบบละเอียดยิบ)
อยากจะไถ่ถอนขายฝาก ต้องทำอย่างไร ค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง เอกสารใดที่ต้องเตรียมบ้าง ใช้เวลานานไหม ขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝาก
สวัสดีค่ะ วันนี้แพรรินทร์จะมาขอพูดถึง ขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝาก เพราะวันนี้มีเคสจริงที่มีลูกค้าต้องการไถ่ถอนขายฝากพอดี เลยจะมารีวิวให้เพื่อนๆและท่านที่สนใจฟังนะคะว่า ปกติแล้วมันจะต้องมีขั้นตอนอะไรยังไงบ้าง เมื่อมีการทำธุรกรรมขายฝากเกิดขึ้นผู้ที่รับซื้อฝาก และผู้ขายฝากได้ทำการขายฝาก ในช่วงระยะสัญญาซึ่ง สัญญาขายฝากจะกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนขายฝากที่ดิน ไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี หากเมื่อครบกำหนดสัญญา หรืออาจก่อนครบสัญญา หากต้องมีการไถ่ถอนขายฝาก จะต้องดำเนินการอย่างไร
การไถ่ถอนขายฝากสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย ไปยื่นขอจดทะเบียนไถ่ถอนจากการขายฝาก ที่สำนักงานที่ดิน ต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1.1
ตรวจสอบกรมที่ดิน ที่อยู่ในเขตของที่ตั้งของที่ดินเพื่อเป็น สถานที่นัดไถ่ถอนขายฝาก (ที่เดียวกับตอนจดขายฝาก)
ขั้นตอนที่ 1.2
กดบัตรคิว ที่หน้างานตรงหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรืออาจใช้วิธีจองคิวออนไลน์ ไว้ล่วงหน้าจาก ในระบบ EQ Land
ขั้นตอนที่ 1.3
เตรียมเอกสารยื่นให้เจ้าหน้าที่เมื่อถึงคิว ไถ่ถอนขายฝาก สำหรับเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการไถ่ถอนขายฝากที่ดิน มีดังนี้
เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการไถ่ถอนขายฝากที่ดิน
• หลักฐานเป็นหนังสือจากผู้รับซื้อฝาก ว่าได้รับชำระสินไถ่แล้ว หรือหนังสือสัญญาขายฝากฉบับผู้รับซื้อฝากที่สลักหลังการรับชำระสินไถ่ไว้ และยินยอมให้ไถ่ถอนจากการขายฝากได้
• หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (หนังสือรับรองการทำประโยชน์)
• หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน (โฉนดที่ดิน) หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด
• เอกสารคู่สัญญาขายฝาก เอกสารที่ทำร่วมกันทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก
• เอกสารบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน โดยนำไปทั้งฉบับจริงและสำเนาของทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก
• เงินต้นและสินไถ่ ให้เตรียมเงินส่วนนี้ไปเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเท่านั้นเพื่อชำระต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน
• หนังสือมอบอำนาจ ท.ด.๒๑ – กรณีที่ไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเอง
• หนังสือยินยอมคู่สมรส และเอกสารคู่สมรสแนบท้าย – กรณีที่มีคู่สมรส
หมายเหตุ: หากทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝาก มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สะดวก ตัวอย่างเช่น ผู้ขายฝากสะดวกมาทำธุรกรรมเพียงฝ่ายเดียว ก็สามารถนำหลักฐานเป็นหนังสือจากผู้รับซื้อฝาก ว่าได้ชำระสินไถ่แล้ว หรือหนังสือสัญญาขายฝาก ฉบับผู้รับซื้อฝากที่สลักหลังการรับชำระสินไถ่ไว้ และยินยอมให้ไถ่ถอนจากการขายฝากได้ ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากต่อเจ้าพนักงาน ที่สำนักงานที่ดินได้เช่นกัน
ขั้นตอนที่ 1.4
เมื่อยื่นเอกสารสำหรับ ไถ่ถอนขายฝาก ให้เจ้าหน้าที่เรียบร้อยแล้ว รอเจ้าหน้าที่เตรียมเอกสารเพื่อจดทะเบียน ไถ่ถอนขายฝาก ในส่วนตรงนี้เจ้าหน้าที่จะสอบถามนายทุนหรือผู้รับซื้อฝากว่าได้รับเงินคืนหรือยัง หากได้รับเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่ จะทำเอกสารให้ทั้งสองฝ่ายเซ็นตามจุด บนเอกสารประมาณ 5 แผ่น
ขั้นตอนที่ 1.5
เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไถ่ถอนขายฝาก ให้เราไปชำระที่ฝ่ายธุรกรรมการเงิน ในส่วนของการชำระค่าไถ่ถอนขายฝาก ก็สะดวกสบาย จากที่แต่ก่อนต้องชำระด้วยเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเท่านั้น ปัจจุบันสามารถชำระเงินเพิ่มเติมด้วย บัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือจะใช้วิธีสแกน QR CODE ผ่าน Mobile App ของทุกธนาคาร (หากชำระด้วยด้วยบัตรเดบิต บัตรเครดิต มีค่าธรรมเนียมนะคะ)
ค่าธรรมเนียมในการขายฝากในกรณีบุคคลธรรมดา
• ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร
• ค่าธรรมเนียมการโอน 2% คิดจากราคาประเมินของทางราชการ
• ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (คิดอย่างใดอย่างหนึ่ง) คิดจากราคาซื้อ-ขายฝาก แต่ถ้าราคาซื้อ-ขายฝาก ต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินราชการ ทุกๆ 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
• ค่าคำขอ ค่าพยาน ตามเกณฑ์ของกรมที่ดิน
ค่าธรรมเนียมในการขายฝากในกรณีนิติบุคคล
• ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 1% ของราคาซื้อ-ขายหรือราคาประเมินราชการ (อย่างใดอย่างหนึ่งที่มูลค่าสูงกว่า)
• ค่าธรรมเนียมการโอน 2% คิดจากราคาประเมินของทางราชการ
• ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (คิดอย่างใดอย่างหนึ่ง) คิดจากราคาซื้อ-ขายฝาก แต่ถ้าราคา ซื้อ-ขายฝากต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินราชการ
• ค่าคำขอ ค่าพยาน ตามเกณฑ์ของกรมที่ดิน
ขั้นตอนที่ 1.6
เมื่อชำระค่าใช้จ่ายส่วนของการไถ่ถอนขายฝากเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะออกเอกสารเป็นสลิป สีเหลืองและสีฟ้า ให้เรา ให้เรานำสลิปสีเหลืองยื่นต่อเจ้าหน้าที่กรมที่ดินช่องที่เราทำธุรกรรมไถ่ถอนขายฝาก
ขั้นตอนที่ 1.7
รอเจ้าหน้าสลักหลังโฉนดระบุด้านหลังสารบัญโฉนด เรื่องการไถ่ถอนขายฝาก ก็เป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะคืนเอกสารทุกอย่างมาให้เรากลับบ้านได้
วิธีที่ 2 หากผู้ขายฝากสะดวกมาทำธุรกรรมเพียงฝ่ายเดียว
ก็สามารถนำหลักฐานเป็นหนังสือจากผู้รับซื้อฝาก ว่าได้ชำระสินไถ่แล้ว หรือหนังสือสัญญาขายฝาก ฉบับผู้รับซื้อฝากที่สลักหลังการรับชำระสินไถ่ไว้ และยินยอมให้ไถ่ถอนจากการขายฝากได้ ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากต่อเจ้าพนักงาน ที่สำนักงานที่ดินได้เช่นกัน
ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อกับผู้รับซื้อฝากได้ หรือผู้รับซื้อฝากบ่ายเบี่ยง ไม่ยอมรับการชำระหนี้ให้ไถ่ถอน ผู้ขายฝากสามารถนำเงินต้นและดอกเบี้ยไปวางทรัพย์ได้ การวางทรัพย์ เป็นกระบวนการที่อนุญาตให้ลูกหนี้หรือบุคคลที่สามที่ยินดีจะชำระหนี้แทนลูกหนี้ หรือผู้ขายฝากมาวางทรัพย์ กรณีการชำระหนี้มีอุปสรรคจากตัวเจ้าหนี้หรือผู้รับซื้อฝาก ซึ่งผู้ขายฝากสามารถวางทรัพย์ได้ โดยนำเงินหรือทรัพย์สินไปวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้ได้ โดยไปที่สำนักงานวางทรัพย์ สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนขายฝากทรัพย์สิน ได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ถึงวันครบกำหนดไถ่ หรือนับตั้งแต่วันที่ไม่สามารถใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์คืนสิ้นสุดลง โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีจะให้ลูกหนี้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการนำส่งหนังสือไปให้แก่เจ้าหนี้ เพื่อมารับต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดที่ลูกหนี้ได้วางทรัพย์ไว้ โดยผลของการวางทรัพย์ ทำให้ลูกหนี้หรือผู้ขายฝากหลุดพ้นจากหนี้
เบื้องต้นทุกท่านคงเข้าใจกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะในส่วนของความหมายการขายฝาก
หากไม่เข้าใจ ไปดูรายละเอียดที่คลิปนี้ค่ะ
สัมภาษณ์ความประทับใจ ผู้ใช้บริการ ต่อ Land for Loan จากปากลูกค้าจริง
บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Land for Loan
Best Deal Guarantee
วงเงินสูง อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ
จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว ที่ Land for Loan❗️
รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน ถูกกฎหมาย ปลอดภัย
ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ
✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์
✅ไม่เช็คเครดิตบูโร
✅อนุมัติไว
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.landforloan.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
LINE ID: @landforloan
โทร : 065 153 9199