สรุป10 ประเด็นกฎหมายขายฝาก

Land for Loan
สรุปประเด็นกฎหมายขายฝาก

สรุปประเด็นกฎหมายขายฝาก

          การขายฝาก เป็นการนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน การขายฝากจึงมีความคล้ายคลึงกับเรื่องจำนอง คือผู้ขายฝากต้องการเงิน จึงนำทรัพย์สินไปฝากไว้กับผู้ซื้อฝาก และเมื่อถึงเวลาการไถ่คืนหากผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่คืนทรัพย์สิน ก็จะหมดสิทธิ์ไถ่คืนทันที

 

 

ประเด็นกฎหมายขายฝาก

  • สัญญาต้องถูกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ก่อน

          กฎหมายระบุให้การทำสัญญาขายฝากและการแก้ไขข้อตกลงทุกครั้งต้องระบุรายละเอียดครบถ้วน และต้องถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ที่ดินก่อนจึงจะสามารถจดทะเบียนได้

 

  • ห้ามทำสัญญาขายฝากต่ำกว่า 1 ปี

          ภาครัฐให้เหตุผลว่าที่ต้องกำหนดเช่นนี้เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาเก็บเกี่ยวพืชผลการเกษตรที่ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี กำหนดเวลาไถ่ถอนจึงต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี สูงสุดไม่เกิน 10 ปี

 

  • สินไถ่รวมดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 15% ต่อปี

          เจ้าหนี้จะแอบไปทำสัญญาต่างหากให้ลูกหนี้เสียค่าธรรมเนียมโน่น เสียค่าใช้จ่ายนี่ เพื่อให้ดอกเบี้ยรวมกันเกิน 15% ไม่ได้ จะเป็นผลให้ดอกเบี้ยทั้งหมดเป็นโมฆะทันที ไม่ใช่เป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เรียกเกินอัตรา

 

  • เจ้าหนี้ต้องแจ้งวันไถ่ถอนและจำนวนสินไถ่เป็นหนังสือก่อนกำหนดไถ่ถอน 3-6 เดือน

          ถ้าไม่ยอมแจ้งก็จะถูกลงโทษ โดยให้ถือว่ากำหนดไถ่ถอนหรือกำหนดชำระหนี้คืนขยายออกไปอีก 6 เดือนโดยอัตโนมัติ

 

  • สามารถเลือกไถ่คืนที่ไหนก็ได้

          ลูกหนี้มีสิทธินำสินไถ่ไปวางที่สำนักงานที่ดินจังหวัดใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสำนักงานที่ดินที่จดทะเบียนขายฝาก หรือจะวางสินไถ่ไว้ที่สำนักงานทรัพย์จังหวัดเหมือนเดิม

 

  • ไถ่คืนล่วงหน้าได้และได้ลดดอก

          สามารถชำระหนี้ล่วงหน้าก่อนถึงวันกำหนดไถ่ถอน โดยได้สิทธิลดต้นลดดอก ฝ่ายเจ้าหนี้หรือผู้ซื้อฝากจะคิดว่าเป็นค่าปรับได้ และเป็นค่าเสียโอกาสที่จะได้ดอกเบี้ย แต่ค่าปรับต้องไม่เกิน 2% ของเงินต้น คิดจากวันที่ชำระก่อนกำหนดจนถึงวันครบกำหนดไถ่

 

  • ลูกหนี้มีสิทธิใช้ที่ดินต่อไปโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

          และดอกผลทรัพย์สินระหว่างการขายฝากตกเป็นของผู้ขายฝาก โดยหลังขายฝากที่ดินไปแล้ว ลูกหนี้ผู้ขายฝากยังสามารถใช้ที่ดินทำเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัยต่อไปได้ โดยไม่ต้องแบ่งรายได้หรือจ่ายค่าเช่าให้แก่เจ้าหนี้

 

          ถ้าในวันจดทะเบียนขายฝากลูกหนี้ให้ผู้อื่นเช่าที่ดินอยู่ก็ให้สัญญาเช่ายังมีผลต่อไปสมบูรณ์ โดยให้ค่าเช่าตกเป็นของลูกหนี้ผู้ขายฝาก แต่ถ้าจดทะเบียนขายฝากไปแล้วลูกหนี้เพิ่งจะนำที่ดินออกให้คนอื่นเช่าทำเกษตรกรรมหรือเป็นที่อยู่อาศัยก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ให้ตกลงกันเองระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ว่าใครจะเป็นผู้รับค่าเช่า

 

          ถ้าเจ้าหนี้ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ได้ค่าเช่าก็ให้นำค่าเช่านั้นไปหักออกจากสินไถ่ ทำให้ลูกหนี้ได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง มีข้อแม้เพียงนิดเดียวว่าลูกหนี้จะนำที่ดินให้ผู้อื่นเช่าทำพานิชยกรรมไม่ได้

 

  • กรณีไม่ไถ่ถอนลูกหนี้ยังมีสิทธิในผลิตผลต่ออีก 6 เดือน

          กรณีไม่มาไถ่คืน ผู้ขายฝากจะต้องส่งมอบที่ดินให้กับผู้ซื้อฝากตามสภาพที่เป็นอยู่เวลา แต่ยังกำหนดให้ผู้ขายฝากมีสิทธิในผลิตผลเกษตรกรรมที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นส่วนควบของที่ดิน เพื่อเก็บหรือขนย้ายภายใน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดเวลาไถ่ถอน ทั้งนี้ผู้ฝากซื้อจะต้องยินยอมให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ผลิตผลการเกษตรเข้าไปในที่ดิน

 

  • ให้ยกคดีขายฝากที่ดินถือเป็นคดีผู้บริโภค

          กรณีเกิดปัญหาระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากขึ้น ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแบบกลุ่มกับเจ้าหนี้ได้ด้วย

 

  • กฎหมายบังคับใช้ครอบคลุมถึงสัญญาซื้อขายอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันด้วย

          สัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่มีเงื่อนไขในทำนองเดียวกันให้ถือว่าเป็นสัญญาขายฝากตามกฎหมายใหม่นี้

บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Land for Loan Best Deal Guarantee วงเงินสูง  อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ

จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว  ที่ Land for Loan❗️

รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน  ถูกกฎหมาย ปลอดภัย ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ

✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์

✅ไม่เช็คเครดิตบูโร

✅อนุมัติไว

 

สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.landforloan.co.th

บริการให้คำปรึกษา ฟรี 

LINE ID: @landforloan โทร :  065 153 9199

ติดต่อเรา Land for Loan

เราช่วยต่อยอดให้ทุกคนสามารถแปลงโฉนดเป็นทุน เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย และตอบโจทย์นักลงทุนรุ่นใหม่ที่สนใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์