ภาระจำยอม ยกเลิกได้หรือไม่

Land for Loan
ภาระจำยอม ยกเลิกได้ไหม

ภาระจำยอม ยกเลิกได้หรือไม่ ?

“ภาระจำยอม” เกี่ยวข้องกับ ที่ดินตาบอด หรือ ที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ หรือ ที่ดินที่ต้องยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนยังไง แล้วภาระจำยอม คืออะไร ภาระจำยอม ยกเลิกได้ไหม วันนี้เรามาทำความเข้าใจกัน

      

 

ความหมายของ “ภารยทรัพย์” และ “สามยทรัพย์”

  “ภารยทรัพย์” (อ่านว่า พา-ระ-ยะ-ทรัพย์) คือ ภาระที่เจ้าของที่ดินผืนหนึ่ง ต้องยอมรับกรรม ให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินของตน ส่วนที่ดินที่มีบุญได้ใช้สิทธิประโยชน์ในที่ดินผู้อื่น เรียกว่า “สามยทรัพย์” (อ่านว่า สา-มะ-ยะ-ทรัพย์)

 

ภาระจำยอม หมายถึง

        หมายถึง ทรัพยสิทธิชนิดหนึ่งที่ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์ โดยทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตน หรือทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่าสามยทรัพย์ เช่น ยอมที่จะไม่ปลูกสร้างอาคาร ปิดบังแสงสว่าง ทางลม แก่ที่ดินข้างเคียง ยอมให้มีทางเดิน หรือ ทางน้ำ ยอมให้ชายคา หรือ หน้าต่างบุคคลอื่น ล้ำเข้ามาในที่ดินของตน ยอมไม่กระทำการใดๆ ต่อที่ดินที่ดินกับทางภาระจำยอม

 

สิทธิ และ หน้าที่ของ เจ้าของภารยทรัพย์มีดังนี้คือ

  1. ต้องไม่กระทำการใดๆ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมนั้นลดลงไป
  2. เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงใน ภารยทรัพย์
  3. เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาและ ใช้ภาระจำยอม และ ต้องให้ภารยทรัพย์เสียหายน้อยที่สุด
  4. ถ้าความต้องการของเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ ที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้น แก่ภารยทรัพย์
  5. เจ้าของภารยทรัพย์อาจจะขอย้ายไปส่วนอื่น ก็ได้ แต่การย้ายนั้น ต้องไม่ ทำให้ความสะดวกแห่งสามยทรัพย์ลดน้อยลงไป
  6. ถ้ามีการแบ่งภารยทรัพย์ ถ้าส่วนใดไม่ใช้ หรือ ใช้ไม่ได้ เจ้าของส่วนอาจเรียกหรือ ขอให้พ้นจากภาระจำยอมได้
  7. เมื่อสามยทรัพย์ได้จำหน่ายออกไปภาระจำยอมย่อมติดไปด้วย เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

การได้มา โดยนิติกรรมสัญญา

        เป็นการตกลงกันระหว่างเจ้าของภารยทรัพย์กับเจ้าของสามยทรัพย์ ว่าจะกำหนดระยะเวลาไว้ เท่าไร โดยถ้าไม่กําหนดเวลาไว้ก็ถือว่าภาระจำยอมมีอยู่ตลอดไป จนกว่าภาระจำยอมนั้นจะระงับไป และต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน และหากไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะใช้บังคับได้เพียงระหว่างคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิเท่านั้น

 

ค่าทดแทน

        ภาระจำยอมโดยนิติกรรม กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเสียค่าทดแทน แล้วแต่เจ้าของที่ดิน

จะตกลงกันว่าจะมีการเสียค่าทดแทนหรือไม่

การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม

การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม

  1. ถ้า ภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดเท่ากับภาระจำยอมจะสิ้นไปโดยอัตโนมัติ
  2. เมื่อที่ดินตกเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เจ้าของสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้
  3. หากไม่ได้ใช้ 10 ปี ติดต่อกัน ภาระจำยอม ย่อมหมดสิ้นไป
  4. ภาระจำยอมหมด ประโยชน์ แก่สามยทรัพย์
  5. เมื่อมีนิติกรรมกําหนดให้ภาระจำยอมหมดสิ้นไประหว่างเจ้าของภารยทรัพย์และเจ้าของสามยทรัพย์

 

สรุป

        การยกเลิก เพิกถอนภาระจำยอมจะทำได้ก็ต่อเมื่อ มีสัญญาต่อกันแต่แรก ว่าจะยกเลิกเมื่อใดก็ได้ และหากไม่ได้ใช้ 10 ปี ภาระจำยอมจะสิ้นไปโดยอัตโนมัติ และเมื่อที่ดินทั้ง2 ได้ตกเป็นเจ้าของเดียวกัน จึงจะสามารถขอเพิกถอนภาระจำยอมได้

บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Land for Loan Best Deal Guarantee วงเงินสูง  อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ

จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว  ที่ Land for Loan❗️

รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน  ถูกกฎหมาย ปลอดภัย ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ

✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์

✅ไม่เช็คเครดิตบูโร

✅อนุมัติไว

 

สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.landforloan.co.th

บริการให้คำปรึกษา ฟรี 

LINE ID: @landforloan โทร :  065 153 9199

ติดต่อเรา Land for Loan

เราช่วยต่อยอดให้ทุกคนสามารถแปลงโฉนดเป็นทุน เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย และตอบโจทย์นักลงทุนรุ่นใหม่ที่สนใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์