ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จำนองได้ไหม

Land for Loan
ไม่ใช่เจ้าของที่ดินจำนองได้ไหม

ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จำนองได้ไหม

เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย หากที่โฉนดที่ดินที่เป็นของ พ่อ แม่ ญาติ หรือคนอื่น ๆ หรือผู้ต้องการจำนองไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ทำที่ดินนั้นมาจำนองได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ

       

 

การเอาโฉนดที่ดินไปกู้ยืมเงินจะมี 2 กรณี ดังนี้

 

1.เอาโฉนดคนอื่นไป จำนอง

 

        ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ การทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดินจะต้องเป็นเจ้าของโฉนดตัวจริงเท่านั้น หากเกิดกรณีญาติหรือคนใกล้ตัวแอบเอาโฉนดที่ดินไป จำนอง หรือทำธุรกรรมทางที่ดิน โดยที่เจ้าตัวไม่ได้รับรู้ หรือรับรู้แต่ให้ผู้อื่นไปทำธุรกรรมแทน ก็ไม่สามารถทำได้

 

        เนื่องจาก การจำนอง ตามกฎระเบียบของสำนักงานที่ดินต้องไปทำสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ สำนักงานที่ดินเท่านั้น หากไม่ได้เซ็นสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ข้อตกลงทำธุรกรรมทุกอย่างจะเป็นโมฆะทันที ไม่มีการมอบอำนาจเพื่อให้ผู้อื่นจำนองแทนได้ นอกเสียจากว่าผู้นั้นเป็นคู่สมรสที่ตกลงยินยอมทำธุรกรรมร่วมกันทั้งสองฝ่าย

 

        เมื่อมีญาติ พ่อแม่พี่น้อง คนใกล้ตัวหรือคนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของโฉนดที่ดิน เอาโฉนดมาจำนอง แต่ไม่ได้ทำธุรกรรม ณ สำนักงานที่ดิน และไม่มีการชำระหนี้เกิดขึ้น ผู้รับจำนองหรือผู้รับขายฝากไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีขายทอดทรัพย์สู่ตลาด เพราะไม่ได้ทำตามกฎระเบียบที่สำนักงานที่ดินระบุไว้ ทำได้เพียงฟ้องร้องเรื่องการกู้ยืมเงินเท่านั้น

 

2.ผู้อื่นขโมยโฉนดที่ดิน และปลอมลายเซ็น ทำธุรกรรม จำนอง

        การทำธุรกรรมทางที่ดินทุกวันนี้ เมื่อมีผู้อื่นแอบลักลอบเอาโฉนดที่ดิน ปลอมลายเซ็นทำธุรกรรมจำนอง สามารถตรวจเช็กได้ที่กรมธนารักษ์ สามารถป้อนข้อมูล ทั้งหน้าโฉนดหลังโฉนด ทำให้สามารถรู้ได้ทันทีว่าใครเป็นเจ้าของโฉนดที่ดิน สำหรับคนที่แอบอ้างหรือปลอมลายเซ็นเราก็สามารถเช็กได้ที่สำนักงานที่ดินโดยตรง ว่าเป็นลายเซ็นของเราจริงหรือไม่ การกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมาย ไม่รอลงอาญา ฐานปลอมแปลง ยักยอก ผู้ที่ทำธุรกรรมมีความผิดและเจ้าหน้าที่ที่รับทำธุรกรรมให้ก็มีความผิดเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีความรอบคอบในการปฏิบัติหน้าที่

 

        ดังนั้นการทำธุรกรรมทางที่ดินควรให้เจ้าของโฉนดตัวจริง คนที่มีชื่อปรากฎบนโฉนดเป็นผู้ทำธุรกรรม เพราะต้องเซ็นสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ สำนักงานที่ดิน 

 

การมอบอำนาจ กรมที่ดิน 

        การมอบอำนาจ คือ มีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง โดยการที่ ”บุคคลหนึ่ง” มอบอำนาจให้อีก ”บุคคลหนึ่ง” มีอำนาจทำการแทน  โดยเรียกว่า “ตัวแทน”

การมอบอำนาจ

การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ

  • การซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการมอบอำนาจให้ขายที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย
  • ควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดิน หรือไม่ก็ต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน
  • ผู้คนนั้นจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน
  • มอบบัตรประจำตัวให้กับผู้รับมอบอำนาจไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่

เจ้าของที่ดินและผู้ซื้อที่ดินจะต้องระมัดระวัง หรือกระทำ การให้รัดกุม รอบคอบอาจเกิดการฉ้อโกงหรือได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงได้ จึงขอให้ผู้มอบได้ปฏิบัติตามคำเตือนหลังใบมอบอำนาจโดยเคร่งครัด

หนังสือมอบอำนาจควรใช้ตามแบบของกรมที่ดิน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ

  1. ที่ดินมีโฉนดแล้ว
  2. ที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด

หากจะใช้กระดาษอื่นควรเขียนข้อความอนุโลมตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดิน เพราะจะได้รายการที่ชัดเจนและถูกต้อง

เพื่อรักษาประโยชน์ของเจ้าของที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1. ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น
  2. ให้ระบุเรื่องที่มอบหมายและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ใคร ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย
  3. อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
  4. ผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง เมื่อมีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำด้วย
  5. อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ก่อนกรอกข้อความครบถ้วน และถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด
  6. โดยปกติให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน แต่หากผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อและจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้ ถ้าภรรยาเป็นผู้รับมอบอำนาจต้องให้สามีลงชื่อเป็นพยานและให้บันทึกความยินยอมเป็นหนังสือด้วย
  7. หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือโนตารีปัปลิครับรองด้วย

        สรุป การจำนอง ตามกฎระเบียบของสำนักงานที่ดินต้องไปทำสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ สำนักงานที่ดินเท่านั้น หากไม่ได้เซ็นสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ข้อตกลงทำธุรกรรมทุกอย่างจะเป็นโมฆะทันที ไม่มีการมอบอำนาจเพื่อให้ผู้อื่นจำนองแทนได้ ฉะนั้นหากไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่สามารถทำสัญญา ขายฝาก จำนองได้

บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Land for Loan Best Deal Guarantee วงเงินสูง  อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ

จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว  ที่ Land for Loan❗️

รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน  ถูกกฎหมาย ปลอดภัย ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ

✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์

✅ไม่เช็คเครดิตบูโร

✅อนุมัติไว

 

สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.landforloan.co.th

บริการให้คำปรึกษา ฟรี 

LINE ID: @landforloan โทร :  065 153 9199

ติดต่อเรา Land for Loan

เราช่วยต่อยอดให้ทุกคนสามารถแปลงโฉนดเป็นทุน เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย และตอบโจทย์นักลงทุนรุ่นใหม่ที่สนใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์