ขายฝาก จำนอง มอบอำนาจได้หรือไม่
ขายฝาก จำนอง มอบอำนาจได้หรือไม่ หากทำได้มีเอกสารใดบ้างที่จำเป็นจะต้องใช้ในการมอบอำนาจ จะต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อความสมบูรณ์ในการมอบอำนาจ
การทำธุรกรรมขายฝาก หรือ การทำธุรกรรมจำนองที่กรมที่ดินนั้น เป็นเรื่องที่ต้องให้เจ้าของทรัพย์หรือคู่สัญญาไปด้วยตัวเองพร้อมกับเอกสารหลักฐานต่างๆทั้งฉบับจริงและสำเนาไปให้พร้อมกันทั้งสองฝ่าย เจ้าหน้าที่กรมที่ดินถึงจะทำธุรกรรมได้ แต่ว่าในบ้างกรณีนั้น ผู้ขายฝาก(เจ้าของทรัพย์) และผู้รับซื้อฝาก(นายทุน) ไม่สามารถไปได้ด้วยตัวเองจะทำธรุกรรมได้ไหม คำตอบก็คือ ได้ แม้แต่กรณีที่ทั้งผู้ขายฝาก(เจ้าของทรัพย์) และผู้รับซื้อฝาก(นายทุน) จะมอบอำนาจให้บุคคลเดียวไปทำก็ยังได้ แต่การที่จะทำอย่างไรให้การทำธรุกรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายนั้นเรามาดูกัน
สิ่งแรกที่ในการมอบอำนาจที่สำคัญที่สุด คือ หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามฟอร์มของสำนักงานที่ หนังสือมอบอำนาจนี้เรียกว่า “หนังสือมอบอำนาจ ท.ด.21’’ ต้องดาวน์โหลดในเว็บไซต์กรมที่ดิน หรือไปขอได้ที่สำนักงานที่ดินที่ใกล้บ้าน แต่แนะนำให้ไปขอที่กรมที่ดินเนื่องจากว่า ในกรมที่ดินจะมีตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอำนาจ ท.ด.21 ที่ถูกต้องจะได้ไม่ผิดพลาดเสียเวลาในวันที่ไปทำธุรกรรมจริง และก่อนไปทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมขายฝาก หรือ ธุรกรรมจำนองเองก็ตาม ผู้รับมอบอำนาจไปต้อง ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆที่สำคัญจะต้องใช้ให้พร้อมกับการเขียนข้อความในหนังสือมอบอำนาจให้ถูกต้องถี่ถ้วน เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาในวันที่ไปทำธุรกรรมจริง เพราะถ้าเอกสารหลักฐานไม่ครบ พอไปถึงเจ้าหน้าที่พนักงานกรมที่ดิน จะปฎิเสธในการจดนิติกรรมให้ทันที
ส่วนเอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมไว้พร้อมกับหนังสือมอบอำนาจ ท.ด.21 คือ
- หนังสือมอบอำนาจ (ท.ด.21)
- บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
- ทะเบียนบ้านผู้รับมอบอำนาจ
- ฃเอกสารของผู้มอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนา
- เอกสารของผู้มอบอำนาจ สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเซ็นรับรองสำเนา
- โฉนดตัวจริง
ถ้ามีคู่สมรสด้วย ต้องใช้หลักฐานมาประกอบด้วย คือ
- หนังสือยินยอมของคู่สมรส พร้อมระบุเรื่องที่จะมาทำให้ถูกต้อง
- สำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรส
- สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
- สำเนาทะเบียนสมรส
- ถ้ากรณีหย่าให้ใช้สำเนาใบจดทะเบียนหย่าด้วย
- ถ้ากรณีคู่สมรสเสียชีวิตให้เตรียมสำเนาใบมรณะบัตรด้วย
ในการที่ผู้รับมอบอำนาจไปทำธุรกรรมที่กรมที่ดิน จะต้องตรวจสอบหลักฐานและความถูกต้องของเอกสารต่างๆให้ครบ ทั้งก่อนทำนิติกรรม และหลังจากทำนิติกรรมแล้วเสร็จ
การทำธุรกรรมโดยมอบอำนาจนั้น ผู้รับซื้อฝาก หรือที่เรียกกันว่า นายทุนนั้น บางกรณีผู้รับซื้อฝากนายทุนก็อยากจะไปทำเองเนื่องจากว่าจะได้พบเจอกับ ฝั่งของผู้ขายฝาก หรือเจ้าของทรัพย์ลูกหนี้ ด้วยตัวเองเพราะว่าจะได้มีการพูดคุยรายละเอียดต่างๆกันได้อย่างสบายใจ และประกอบกับทางกรมที่ดินพนักงานเจ้าหน้าที่ก็อยากจะให้ ผู้รับซื้อฝาก และ ผู้ขายฝาก มาทำธุรกรรมจดนิติกรรมด้วยตัวเองเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ และเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนว่า ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือที่เรียกว่า เจ้าของทรัพย์ อีกฝั่งก็ ผู้จะมารับซื้อฝากหรือนายทุน มาด้วยตัวเองก็จะทำธุรกรรมสมบูรณ์มากขึ้น และบางทีนายทุนหรือผู้รับซื้อฝาก ไม่อยากมอบอำนาจมา เหตุผลหลักๆ อาจจะเป็นเพราะว่า กลัวการผิดพลาดเรื่องของความเสี่ยงว่า ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือที่เรียกว่า เจ้าของทรัพย์ อนาคตอาจจะมาฟ้องต่อศาลหรือคัดคานได้ว่า เจ้าตัวไม่ได้มาด้วยตัวเอง ทางฝั่งนายทุนผู้รับซื้อฝากก็ต้องมานั่ง ฟ้องศาลสู้คดีกันต่อไปอีก ก็จะทำให้เกิดข้อพิพาทต่างๆได้อีกในอนาคต นี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดปัญหาที่ทางนายทุนหรือผู้รับซื้อฝากกลัว จึงอยากตัดปัญหานี้โดยการ ไปทำธุรกรรมด้วยตัวเอง และก็อยากให้ฝั่งผู้ขายฝากหรือเจ้าของทรัพย์ไปด้วยตัวเองเช่นกัน
สรุป ในการที่จะให้บุคคลอื่นไปทำเรื่องธรุกรรมมอบอำนาจให้นั้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งจำนอง หรือ ขายฝาก ก็สามารถจะจดนิติกรรมได้เหมือนกัน แต่ต้องมีข้อพึงระวังไว้ว่า หลักฐานเอกสารต่างๆ ประกอบกับรายละเอียดในหนังสือมอบอำนาจ ทด.21 นั้นจะต้องถูกต้องกับวัตถุประสงค์ในการจดนิติกรรม เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมาจะแก้ไขได้ยาก ดังนั้นจะให้ดี เจ้าของทรัพย์ผู้ขายฝาก และ นายทุนผู้รับซื้อฝาก ควรจะไปทำด้วยตัวเอง เพื่อลดความเลี่ยงปัญหาภายหลังในอนาคต
บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Land for Loan Best Deal Guarantee วงเงินสูง อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ
จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว ที่ Land for Loan❗️
รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน ถูกกฎหมาย ปลอดภัย ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ
✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์
✅ไม่เช็คเครดิตบูโร
✅อนุมัติไว
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.landforloan.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
LINE ID: @landforloan โทร : 065 153 9199