อีเมล

admin@landforloan.co.th

วิธีเลือก นายทุนขายฝาก

วิธีเลือก นายทุนขายฝาก ในยุคนี้ต้องยอมรับว่าสินค้าอุปโภคบริโภค แม้แต่ไฟฟ้าก็ยังมีราคาพุ่งสูงอย่างต่อเนื่องกระทบไปยังประชาชนทั่วไปอย่างวงกว้าง และภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ SME ซึ่งทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นดังนั้นภาพรวมเศรษฐกิจในยุคนี้และอนาคตจะเป็นอย่างไรก็ต้องสู้กันต่อไป สิ่งสำคัญในภาพรวมของเศรษฐกิจก็คงไม่พ้นเรื่องของ แหล่งเงินทุนซึ่งเป็นปัจจัยหลักต้นๆ ของระบบเศรษฐกิจเลยก็ว่าได้ เช่นประชาชนทั่วไปต้องมีเงินสำรองหมุนเวียน หรือในภาคธุรกิจต่างๆที่ต้องมีเงินทุนไว้สำรอง ดังนั้นในการมองหาแหล่งเงินทุนก็มีให้เลือกหลากหลายประเภท โดยหลักๆที่เราคุ้นกันก็คือ สถาบันการเงินต่างๆ เช่นกลุ่มของธนาคาร กลุ่มของบริษัทเงินทุนสินเชื่อต่างๆ แต่ทั้งนี้ในกลุ่มของสถาบันการเงินก็ปล่อยสินเชื่อกู้เงินได้ยากขึ้น มีการตรวจสอบรายละเอียดต่างๆมากมายจนทำให้รู้สึกว่ายุ่งยากเข้าถึงแหล่งเงินทุนกลุ่มนี้แทบไม่ได้ จึงทำให้เกิดการกู้ยืมเงินอีกหนึ่งธุรกรรมนั้นก็คือ การขายฝาก นั้นเองการ สำหรับวงการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หลายท่านส่วนใหญ่มักจะมีความคุ้นเคยหรือเคยได้ยิน กับ นักลงทุนขายฝาก หรือนักลงจำนอง ผ่านหูบ้าง เนื่องจากการทำธุรกิจหรือการทำสัญญาลักษณะนี้ เป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ในปัจจุบันได้มีการลงทุนลักษณะใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาหลากหลายประเภท ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการเป็น นายทุนขายฝาก ขายฝากคือ รูปแบบการทำนิติกรรมซื้อขายประเภทหนึ่ง โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝาก และผู้ขายฝาก จะตกเป็นผู้ถือครองและยังสามารถทำประโยชน์ในทรัพย์สินของตัวเองได้ตามปกติ เพียงแต่กรรมสิทธิ์ที่ดินจะถูกเปลี่ยนไปตอนจดนิติกรรมที่กรมที่ดินไปเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที โดยจะมีการกำหนดผลตอบแทนเป็นในรูปแบบของ ดอกเบี้ย แล้วแต่ตกลงกันแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดกันที่ 15% ต่อปี เนื่องจากว่ากฎหมายกำหนดไว้และต้องจดนิติกรรมก็ต้องระบุในสินไถ่ไว้ให้ไม่เกินตามกฎหมายกำหนด เพราะสุดท้ายต้องทำธุรกรรมจดนิติกรรมต่อเจ้าหน้าที่พนักงานกรมที่ดินจะมีการตรวจสอบว่าฝ่ายผู้รับซื้อฝาก หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า นายทุน มีการเรียกเก็บเกินกว่ากฎหมายกำหนดหรือไหม และยังต้องกำหนดระยะเวลาการขายฝากไว้ในสัญญาโดยทั่วไปก็จะระบุบไว้ 1-10 ปี...

Read More

จำนอง จำนำ คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

จำนอง จำนำ คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร ในภาวะสถานการณ์ช่วงนี้ภาพรวมเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะดีนัก ประกอบกับสถานการณ์ของการเมืองที่ไม่แน่นอน ทำให้หลายคนอาจกระทบจากภาวะสถานการณ์ที่เศรษฐกิจฝืดเคือง หลายคนโชคดีมีอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด หรือทรัพย์อื่นๆที่สามารถนำมาขอกู้เงินกับสถานบันการเงินธนาคารต่างๆหรือจำนองกันแบบทำกับนายทุนทั่วๆไป ก็ถือว่าสามารถนำอสังหาริมทรัพย์นี้มาเป็นประกันการกู้ยืมเงินได้ง่าย เพราะว่าอย่างน้อยสถานบันการเงินหรือนายทุนทั่วๆไปก็ยังจะพิจารณาในเงินกู้กับผู้จำนองหรือลูกหนี้ได้ง่ายๆ เนื่องจากถ้าผู้จำนองหรือลูกหนี้ไม่ชำระเงินตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ทางฝั่งของผู้รับจำนองหรือนายทุนก็จะสามารถฟ้องศาลร้องบังคับคดีเอาทรัพย์นั้นไปขายทอดตลาดแล้วหักเงินส่วนที่ยังคงค้างอยู่พร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการฟ้องได้ ส่วนสำหรับคนที่ไม่มีอสังหาริมทรัพย์ละจะทำอย่างไรดี? เราดูกันว่าจริงๆแล้วการทำสัญญากู้ยืมเงินนั้นมีอยู่ 2 แบบที่นิยมทำกันโดยอาจจะเข้าใจผิดสับสนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างเราลองมาทำความเข้าใจเบี้องต้นเกี่ยวกับการกู้เงินทั้งสองแบบ จำนอง คืออะไร คือ การนำอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด หรือทรัพย์สินอื่นๆที่เป็น ทรัพย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้  เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ และใช้เป็นหลักประกัน เขาเรียกว่าทรัพย์สินนั้นๆว่า อสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้จำนองง  ผู้จำนองที่ต้องการทำทำธรุกรรมจำนอง ต้องไปที่สำนักงานที่ดินไปจดนิติกรรมสัญญาผู้รับจำนองกับคู่สัญญาผู้จำนองต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังตกเป็นของผู้จำนอง อยู่ทั้งประการ ทำประโยชน์หรือถือครองใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ           ยกตัวอย่างการจำนอง นายหนึ่งต้องการใช้เงินจำนวน 3 ล้านบาท นายหนึ่งมีคอนโดอยู่หนึ่งห้องชุดซึ่งพักอาศัยเองคอนโดมีมูลค่า 10 ล้านบาทซึ่งปลอดภาระแล้ว นายหนึ่งจึงติดต่อนำรายละเอียดต่างๆของทรัพย์ให้กับ นายสองซึ่งเป็นนายทุน...

Read More

ขายฝาก จำนอง มอบอำนาจได้หรือไม่

ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้หรือไม่

Read More