วิธีเริ่มต้นการเป็น นายหน้าขายฝาก

วิธีเริ่มต้นนายหน้าขายฝาก อาชีพใหม่ทำเงินล้าน ในช่วงเศรษฐกิจขาลง           เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่นิยมในตลาดวงการอสังหาริมทรัพย์ ก็คือการ “ขายฝาก” ซึ่งตอนนี้กำลังแป็นกระแสที่นิยมมากขึ้นในกรุงเทพฯ จากที่ก่อนหน้านี้การขายฝากได้รับความนิยมมากในโซนต่างจังหวัด และยังเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สามารถรายได้รายได้มากมายต่อปี แล้วถ้าอยากจะเริ่มเป็น นายหน้าขายฝาก หรือทำธุรกรรมการขายฝาก ละต้องเริ่มต้นยังไงบ้าง             วันนี้ทาง Land for Loan มีเคล็บลับมาแนะนำสำหรับท่านที่ต้องการขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโด หรืออยากเป็นนายหน้าขายฝากเพราะถือว่าหนึ่งในอาชีพที่มั่นคงและรายได้ดี ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ผู้คนหลายท่านต้องการขายฝากเงินด่วน ดอกเบี้ยถูก อาชีพนายหน้าก็สามารถเข้ามาเติมเต็มและสามารถทำอาชีพนี้แบบจับเสือมือเปล่าได้โดยไม่ต้องลงทุนหรือเสียเงินแม้แต่สักบาท แต่การทำอาชีพนายหน้าให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด บางท่านก็ประสบความสำเร็จแต่ยังมีหลายท่านที่กำลังประสบปัญหาในการเข้าหานายทุน เพราะมีทรัพย์เข้ามาเยอะแยะมากมาย แต่นายทุนให้ลูกค้าไม่ได้ วันนี้มาเช็คคุณสมบัติการเป็นนายหน้าที่ดี ต้องทำอย่างไรบ้าง คุณสมบัติเบื้องต้นนายหน้าขายฝาก คุณต้องรู้เงื่อนไขของนายทุน ทรัพย์ขายฝากแต่ละตัวที่นำเสนอต่อทาง Land for Loan วงเงินอนุมัติเบื้องต้นอยู่ที่ 50% ของราคาประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ ดังนั้นหากหลักทรัพย์ที่ต้องการวงเงินมากเกินไปอาจไม่สามารถปิดดีลได้ นายหน้าขายฝากจึงไม่จำเป็นต้องเสียเวลาส่งให้กับทาง Land...

Read More

รับจำนอง ต้องเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือไม่

 รับจำนอง ต้องเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือไม่ รับจำนอง ต้องเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือไม่ นายทุน นายหน้าหลายคน ทำขายฝาก และ จำนอง ซึ่งความแตกต่างกันของ จำนอง กับ ขายฝาก ค่อนข้างต่างกันมากเรื่องความเด็ดขาด วันนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดาที่รับ “จำนอง” เงินขาดมือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนธนาคารไม่ได้ จะไปหยิบยืมใครก็ลำบาก พอจะมีอสังหาฯ ไม่ว่าที่ดิน บ้าน เอาเสนอนายทุน ญาติพี่น้อง ในยามฉุกเฉินยืมไม่ได้ก็เอาบ้าน ที่ดินจำนองเป็นหลักประกันซะเลย           “ผู้จำนอง” คือเจ้าของอสังหาฯ นำทรัพย์ไปจำนอง กับ “ผู้รับจำนอง” โดยทรัพย์จำนองเพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้    โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบ อสังหาฯ ให้แก่ผู้รับ การจำนอง ต้องทำที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น      การจำนอง ตามกฎหมาย ท่านกำหนดไว้ว่า จะต้องทำเป็นหนังสือ และ...

Read More

ขายฝากอสังหา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะ

ขายฝากอสังหา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออากรแสตมป์ ภาษี เกี่ยวกับการขายฝาก ต้องนำเงินที่ได้ จากการขายฝากไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นหรือไม่ ? และขายฝาก ต้องเสียเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ภาษีธุรกิจเฉพาะล่ะ ? ต้องมาดูว่า มุ่งค้าหากำไร หรือโดยเสน่หาอีกหรือเปล่า           การขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการขายทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน   ที่ดิน  ให้กับผู้รับซื้อฝาก   ทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาจะต้อง ไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่ การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากผู้ขายฝากไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน โดยผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายฝากอีก มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ ภาษีที่เกี่ยวข้อง 1.เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2.ภาษีธุรกิจเฉพาะหรือ อากรแสตมป์ กรณีการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ภาระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะของผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากมีดังนี้ 1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1.1 การขายฝาก ตามมาตรา 491 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถือเป็นการ...

Read More

จำนอง VS ขายฝาก หมายถึงอะไร ข้อควรรู้ก่อนทำธุรกรรม

จำนอง – ขายฝาก หมายถึงอะไร ข้อควรรู้ก่อนทำธุรกรรม หลายคนสงสัยว่า จำนอง – ขายฝาก หมายถึงอะไร หากใครอยากรู้ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเพื่อมาไขข้อสงสัยกัน แบบไหนเหมาะกับใคร และต่างกันอย่างไรบ้าง การจำนอง คืออะไรความหมายของการจำนอง           จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้ รับจำนอง (ป.พ.พ. มาตรา 702)           ตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโทเป็นจำนวน 2 แสนบาท โดยนายเอกได้นำที่ดินของตนจำนวน 1 แปลงไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 2 แสนบาท ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท โดยนายเอกไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นายโท นายเอกยังคงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ การจำนอง...

Read More

7 ขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝาก (แบบละเอียดยิบ)

7 ขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝาก (แบบละเอียดยิบ)           อยากจะไถ่ถอนขายฝาก  ต้องทำอย่างไร  ค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง  เอกสารใดที่ต้องเตรียมบ้าง ใช้เวลานานไหม  ขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝาก สวัสดีค่ะ วันนี้แพรรินทร์จะมาขอพูดถึง ขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝาก เพราะวันนี้มีเคสจริงที่มีลูกค้าต้องการไถ่ถอนขายฝากพอดี เลยจะมารีวิวให้เพื่อนๆและท่านที่สนใจฟังนะคะว่า ปกติแล้วมันจะต้องมีขั้นตอนอะไรยังไงบ้าง เมื่อมีการทำธุรกรรมขายฝากเกิดขึ้นผู้ที่รับซื้อฝาก และผู้ขายฝากได้ทำการขายฝาก ในช่วงระยะสัญญาซึ่ง สัญญาขายฝากจะกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนขายฝากที่ดิน ไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี หากเมื่อครบกำหนดสัญญา หรืออาจก่อนครบสัญญา หากต้องมีการไถ่ถอนขายฝาก จะต้องดำเนินการอย่างไร การไถ่ถอนขายฝากสามารถทำได้ 2 วิธี คือ           วิธีที่ 1 คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย ไปยื่นขอจดทะเบียนไถ่ถอนจากการขายฝาก ที่สำนักงานที่ดิน ต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1.1  ตรวจสอบกรมที่ดิน ที่อยู่ในเขตของที่ตั้งของที่ดินเพื่อเป็น...

Read More

อสังหาฯแบบใด ที่ดิน บ้าน แบบไหน จำนองผ่านง่าย ขายฝากก็ผ่านสบาย

อสังหาฯแบบใด ที่ดิน บ้าน แบบไหน จำนองผ่านง่าย ขายฝากก็ผ่านสบาย               หลาย ๆ ท่านที่ต้องการทำจำนองที่ดิน จำนองบ้าน หรือนำอสังหาฯอื่น ๆ มาทำจำนอง-ขายฝาก กับนายทุน อาจจะเกิดความสงสัยว่าเวลานำทรัพย์สินต่าง ๆ มาทำจำนอง-ขายฝากนั้น ไม่มีนายทุนคนไหนอนุมัติวงเงินให้เลย ทั้งที่เรานั้นก็มั่นใจว่าวงเงินที่เราขอนั้นเมื่อเอามาเปรียบเทียบแล้วไม่ได้สูงกว่าราคาซื้อขาย ตามราคาตลาดในแถว ๆ นั้นเลย และเราก็แสดงรายได้ต่าง ๆ ให้นายทุนดู เพื่อความชัดเจนว่าเราจะมีความสามารถในการผ่อนชำระตามงวด และนำเงินต้นมาไถ่ตามระยะเวลาในสัญญาได้แบบที่จะไม่เกิดปัญหาตามมา แต่นายทุนก็ยังปฎิเสธว่าทรัพย์ของเราเป็นทรัพย์ที่ไม่ควรรับจำนอง-ขายฝาก และฝั่งนายทุนก็มักจะให้เหตุผลคล้ายกันว่า มันเสี่ยงเกินไป                เกณฑ์ทั่วไปในการตรวจสอบทรัพย์สิน โดยทั่วไปแล้ว นายทุนแต่ละท่านก็จะมีเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดกรองทรัพย์ที่นำมาจำนอง หรือว่าขายฝากนั้นมักแตกต่างกันไป แล้วแต่มุมมอง แล้วแต่ดุลยพินิจของนายทุนแต่ละท่าน เหตุผลหลัก ๆ คล้าย ๆ กัน เช่น   1.การประเมินวงเงิน           ตามปกติแล้ว นายทุนจะมีวิธีการป้องกันความเสี่ยงในการรับจำนอง โดยจะประเมินวงเงินด้วยการให้วงเงินที่...

Read More

ลงทุนจำนอง ขายฝากผ่านนายหน้าดีอย่างไร

ลงทุนจำนอง ขายฝากผ่านนายหน้าดีอย่างไร? หลาย ๆ ท่านคงมีความสงสัยว่า ทำไมต้อง ลงทุนจำนอง ขายฝาก ผ่าน นายหน้า หรือตัวแทนคนกลาง ทำไมเราไม่หาลูกหนี้ หรือลูกค้าเอง จะได้ไม่ต้องมาหักส่วนแบ่งที่เขาเรียกกันว่า ปากถุง หรือค่าธรรมเนียม แต่จริง ๆ แล้วหารู้ไม่ว่าอาชีพนายหน้า หรือตัวแทนทั้งหลายต้องผ่านเส้นทางทรหดอะไรมาบ้าง โดยส่วนใหญ่การลงทุนจำนอง หรือขายฝากนั้น นายทุน จะต้องควักกระเป๋าเอาเงินสดของตนเอง มาให้กับเจ้าของทรัพย์ที่ไม่เคยรู้จักมักจี่กันมาก่อนทำให้ยากแก่การเชื่อใจ ยากแก่การคัดกรองว่าทรัพย์ที่เจ้าของนำมาจำนองหรือขายฝากกับเรานั้น เป็นทรัพย์ที่ดีเหมาะสมกับการลงทุนหรือไม่โดยเฉพาะนายทุนมือใหม่หัดเข้าวงการยิ่งจำเป็นต้องระวังใหญ่ เป็นเหตุให้ นายหน้า เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยเหลือนายทุนเสาะหาทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์หาทรัพย์ที่เหมาะสมที่จะลงทุน ควรค่าแก่เงินของนายทุนทั้งหลายนั่นเอง 1. ทำการตลาดหาทรัพย์ในวงการจำนองขายฝาก เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง นายทุนมีจำนวนเยอะกว่าเจ้าของทรัพย์ซึ่งนี้คือความยากของนายหน้า เนื่องจากต้องหาทรัพย์มาทำจำนองขายฝาก ทำให้โอกาสทรัพย์ดีๆ จะหลุดมาถึงมือนายทุนรายย่อยน้อยมาก นายทุนมือใหม่ส่วนใหญ่เลยไม่รู้จะไปหาทรัพย์ดีๆ จากที่ไหนกัน การเลือกใช้บริการนายหน้า จึงเป็นช่องทางสำคัญในการค้นหาทรัพย์ที่น่าสนใจในการลงทุน 2. คัดเลือกทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข การคัดเลือกทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข และ ความเป็นไปได้เป็นธรรมดาที่การที่เราจะลงทุนในสิ่งใด เราต้องศึกษาและประเมินมูลค่าของมันให้ดีอย่างถี่ถ้วนเพื่อเป็นการ ลดความเสี่ยง ในการลงทุนให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด แต่นายทุนหลายๆ ท่านไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ ความชำนาญในจุดนี้อาจทำให้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินผิดพลาด จนทำให้เสียเงิน เสียเวลา และเสียโอกาสในการลงทุนไป แต่ปัจจุบันการประเมินมูลค่าทรัพย์ให้ได้มูลค่าที่แน่นอนจะต้องให้ บริษัทประเมินที่ได้รับการรับรองจาก กลต....

Read More

ทำความรู้จักการจำนองบ้านไว้ รอขายได้ก็ค่อยไปไถ่

ทำความรู้จักการจำนองบ้านไว้ รอขายได้ก็ค่อยไปไถ่ ทำความรู้จักการจำนองบ้านไว้ รอขายได้ก็ค่อยไปไถ่         เศรษฐกิจในยุคนี้หลายๆท่านอาจจำเป็นที่จะต้องใช้เงินเร่งด่วน และมองหาแหล่งเงินทุนต่างๆ ดังนั้นการจำนองอสังหาฯ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด โรงแรม รีสอร์ท โรงงาน หรืออสังหาฯอื่นๆ เป็นตัวเลือกต้นๆที่จะนำเงินมาใช้ในยามจำเป็น เราจะมาแนะนำวิธีที่นำอสังหาฯ ของท่านไปจำนองไว้ และขายได้ค่อยไปไถ่ถอนคืนมา ข้อดีของการจำนองบ้านไว้ก่อน ขายได้ค่อยมาไถ่ถอนทีหลัง สมมติว่า บ้านประกาศขายมา 3 ปี แต่ยังขายไม่ได้เลย มีแต่คนสนใจแต่ไม่ซื้อ พอจะมีคนมาซื้อ ก็ติดปัญหากู้เงินสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ผ่านทำให้บ้าน ยังเป็นของเราเหมือนเดิม ยังขายไม่ได้เมื่อเวลาผ่านไป เจ้าของจำเป็นต้องใช้เงินด่วน จะขายบ้านตอนนี้ก็ไม่ทันที่จะได้เงินมาใช้ จะตัดใจขายในราคาที่ต่ำกว่าปกติ ก็ตัดใจขายไม่ได้ จะกู้แบงก์ก็มีขั้นตอนเงื่อนเอกสารมากมายวุ่นวาย ต้องใช้เวลานาน สุดท้ายเลยได้ตัดสินใจจำนองบ้านแทน บ้านหลังนี้ประเมินแล้วมีราคาซื้อ-ขายกันปกติอยู่ที่ประมาณ 5,000,000 บาท วงเงินจำนองที่ทางนายทุนสามารถอนุมัติได้คือ 30% ของราคาตลาดเท่ากับว่าบ้านหลังนี้สามารถจำนองได้วงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ซึ่งทางเจ้าของบ้านก็ต้องการที่จะใช้เงินราวๆ 1,500,000 บาทพอดีทำให้นายทุนของเราตัดสินใจรับจำนองทรัพย์นี้ไว้ ซึ่งทางเจ้าของก็ได้เงินก้อนไปใช้ 1,500,000 บาท แต่ต้องเสียดอกเบี้ยปีละ...

Read More